วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

แผนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้น ม.2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง เครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 3 ชั่วโมง

1. สาระสำคัญ
ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ มนุษย์ได้สร้างเครื่องมือขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษาหาข้อมูลและบันทึกข้อมูลสิ่งที่ปรากฏในภูมิประเทศมาตั้งแต่อดีต เช่น แผนที่ เข็มทิศ ลูกโลกจำลอง ซึ่งในระยะเวลาต่อมาเมื่อโลกมีการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ชนิดต่างๆ ก็มีการพัฒนามากขึ้นตามลำดับ นอกจากนั้นเทคโนโลยีสมัยใหม่บางอย่างยังได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างและปรับปรุงเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นยกตัวอย่างเช่น การนำเอารูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียมมาเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนที่ ซึ่งทำให้ได้แผนที่ที่มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายความหมายและการทำงานของเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ได้พอสังเขป
2. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ได้
3. สรุปประโยชน์ของเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ได้
3. สาระการเรียนรู้
1. รีโมตเซนซิง (Remote Sensing : RS)
2. ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS)
3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)
4. กิจกรรมการเรียนรู้ (วิธีสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ)
ชั่วโมงที่ 1


1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
3. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการจัดทำแผนที่ เช่น รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียมโดยนำตัวอย่างรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียมมาให้นักเรียนดู จากนั้น
สอบถามความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ รีโมตเซนซิง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
4. นักเรียนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 5-6 คน ตามความสมัครใจ แล้วศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับรีโมตเซนซิง ได้แก่ ความหมายของรีโมตเซนซิง ระบบการทำงานของรีโมตเซนซิง และประโยชน์ของรีโมตเซนซิง จากสื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน ภูมิศาสตร์ ม.2
5. ครูสุ่มนักเรียนจากแต่ละกลุ่ม ให้อธิบายหัวข้อที่ตนศึกษามาคนละ 1 หัวข้อ จากนั้นครูช่วยอธิบายเพิ่มเติม
6. นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง รีโมตเซนซิง (เป็นรายบุคคล) โดยใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามา
7. ครูสุ่มนักเรียนให้ออกมานำเสนอผลงานการทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง รีโมตเซนซิง ของตนที่หน้าชั้นเรียน จากนั้นให้นักเรียนคนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปนำเสนอเพิ่มเติม
8. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง รีโมตเซนซิง ที่ได้ศึกษามา
9. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตอนที่ 1 รีโมตเซนซิง (Remote Sensing : RS) กิจกรรมที่ 1.1-1.3 เป็นการบ้าน
ชั่วโมงที่ 2


1. ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกัน เรื่อง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือ GPS โดยตั้งคำถามว่า นักเรียนคนใดรู้จักระบบ GPS บ้าง ระบบ GPS มีความสำคัญอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรกับโลกของเรา 2. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลาง และอ่อน แล้วร่วมกันศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ได้แก่ ความหมายของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หลักการทำงานของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ประโยชน์ของระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก จากสื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน ภูมิศาสตร์ ม.2
3. ครูสอบถามนักเรียนแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับเนื้อหาที่มอบหมายให้ศึกษา จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตอนที่ 2 ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (Global Positioning System : GPS) กิจกรรมที่ 2.1 และ 2.2
4. สมาชิกในแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำ โดยสมาชิกคนที่ 1 ทำกิจกรรมที่ 2.1 สมาชิกคนที่ 2 ทำกิจกรรมที่ 2.2 แล้วช่วยกันตรวจสอบแก้ไขให้ถูกต้อง
5. สมาชิกคนที่ 3 ของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานการทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ของกลุ่มตนที่หน้าชั้นเรียน จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติม
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ที่ได้ศึกษามา


ชั่วโมงที่ 3


1. ครูทบทวนพื้นฐานความรู้เดิม เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS ตามที่นักเรียนเคยได้ศึกษาหรือเคยได้ยินมาก่อน
2. นักเรียนจับกลุ่มกัน กลุ่มละ 5-6 คน แล้วร่วมกันศึกษา เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) จากสื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน ภูมิศาสตร์ ม.2
3. นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตอนที่ 3 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) กิจกรรมที่ 3.1 และ 3.2 และใบงานที่ 1.2 เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาและจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต
4. ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลงานการทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของกลุ่มตนที่หน้าชั้นเรียน จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติม
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่อง เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ ที่ได้ศึกษามา
7. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์
8. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ตอนที่ 4 บูรณาการความรู้ เป็นการบ้าน
5. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. ตัวอย่างรูปถ่ายทางอากาศหรือภาพจากดาวเทียม
2. สื่อสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สัมฤทธิ์มาตรฐาน ภูมิศาสตร์ ม.2
3. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง รีโมตเซนซิง
4. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
5. ห้องสมุด
6. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
http://www.gistda.or.th สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
http://www.mahadthai.com/gis/index.htm ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
http://www.gisthai.org ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. การวัดและประเมินผล
6.1 วิธีการวัดและประเมินผล
1. ตรวจใบงานที่ 1.1
2. ตรวจผลการค้นคว้าในใบงานที่ 1.2
3. ตรวจแบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
4. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
5. ประเมินผลงานกลุ่ม
6. ประเมินผลการนำเสนอผลงานกลุ่ม
7. ตรวจแบบทดสอบ
6.2 เครื่องมือวัดและประเมินผล
1. ใบงานที่ 1.1
2. ใบงานที่ 1.2
3. แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
5. แบบประเมินผลงานกลุ่ม
6. แบบประเมินผลการนำเสนอผลงานกลุ่ม
7. แบบทดสอบ
6.3 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
1. ใบงานที่ 1.1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
2. ใบงานที่ 1.2 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
3. แบบฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50
4. แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบสังเกต)
5. แบบประเมินผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
6. แบบประเมินผลการนำเสนอผลงานกลุ่ม (รายละเอียดอยู่ในแบบประเมิน)
7. แบบทดสอบ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60

ไม่มีความคิดเห็น: